เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น-2อ.

ความหมายของวิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น

วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น เป็นวิชาที่ว่าด้วยหลักการและวิธีการเขียนแบบเทคนิค โดยใช้เครื่องมือเขียนแบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อถ่ายทอดความคิดและจินตนาการของผู้ออกแบบให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างถูกต้องและตรงกัน โดยวิชานี้มุ่งเน้นให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเขียนแบบ การใช้เครื่องมือเขียนแบบ หลักการเขียนแบบสามมิติ การสร้างแบบร่าง การสร้างภาพฉาย การสร้างภาพตัด และการใช้สัญลักษณ์ในงานเขียนแบบ

ความสำคัญของวิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น

วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้นเป็นวิชาสำคัญสำหรับนักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการผลิต เช่น วิศวกรรม สถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ อุตสาหกรรมศิลป์ เป็นต้น เนื่องจากวิชานี้จะเป็นพื้นฐานสำคัญในการเรียนวิชาเขียนแบบระดับสูงต่อไป และสามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานในสายอาชีพต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของวิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น สามารถสรุปได้ดังนี้

  • เป็นภาษาสากลที่ใช้ถ่ายทอดความคิดและจินตนาการของผู้ออกแบบ
  • เป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างผู้ออกแบบและผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • ช่วยให้การทำงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
  • ช่วยลดโอกาสเกิดความผิดพลาดในการทำงาน

สรุป

วิชาเขียนแบบเทคนิคเบื้องต้นเป็นวิชาที่มีความสำคัญสำหรับนักศึกษาและผู้ที่ทำงานในสายอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและการผลิต เนื่องจากเป็นวิชาที่จะช่วยให้สามารถถ่ายทอดความคิดและจินตนาการได้อย่างถูกต้องและตรงกัน สามารถนำไปใช้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดโอกาสเกิดความผิดพลาดในการทำงาน

บทที่ 1 เครื่องมือเขียนแบบ

เครื่องมือเขียนแบบเป็นส่วนสำคัญมากในงานเขียนแบบ เพราะการที่จะเขียนแบบให้ถูกต้อง รวดเร็วสวยงาม จะต้องอาศัยเครื่องมือเขียนแบบที่เหมาะสมกับงานนั้นๆ ดังนั้นการเลือกใช้เครื่องมือเขียนแบบที่ถูกต้องและเหมาะสม นอกจากจะทำให้การเขียนแบบมีความละเอียด สวยงาม และรวดเร็วแล้ว ยังเป็นการช่วยให้เครื่องมือเขียนแบบมีอายุการใช้งานยาวนานอีกด้วย 

บทที่ 2 มาตรฐานงานเขียนแบบเทคนิค

สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในงานเขียนแบบ  ผู้เขียนแบบที่ต้องศึกษามาตรฐานต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแบบสาขานั้นๆ  เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องซึ่งมาตรฐานงานเขียนแบบเทคนิคที่ผู้เขียนแบบต้องศึกษาเป็นเบื้องต้น  ได้แก่  มาตรฐานของกระดาษเขียนแบบ  มาตรฐานเส้นการเขียนอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข  การเขียนตัวอักษรภาษาไทย  วิธีการเขียนตัวอักษรและมาตราส่วน

บทที่ 3 การสร้างรูปเรขาคณิต

รูปเรขาคณิตเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยการสร้างรูปทรงต่างๆ  ซึ่งผู้เขียนแบบจะต้องนำเทคนิคและวิธีการต่างๆ  ทางเรขาคณิตไปประยุกต์ใช้ในการเขียนแบบ  เช่น  การแบ่งครึ่งเส้นและมุม  การเขียนเส้นและส่วนโค้งขนานกัน  การสร้างรูปหลายเหลี่ยม  การสร้างส่วนโค้งสัมผัสมุมและวัตถุ2วัตถุ  การเขียนวงรีเป็นต้น

บทที่ 4 การกำหนดขนาดของมิติ

การกำหนดขนาดของมิติมีจุดมุ่งหมายที่จะแสดงสัดส่วนและขนาดต่างๆ  ของแบบงานโดยจะต้องคำนึงถึงขั้นตอนการทำงาน  การวัดและตรวจสอบหน้าที่และตำแหน่งของงานนั้นๆ  เพื่อช่วยให้การทำงานสะดวกรวดเร็ว  ดังนั้น  ผู้เขียนแบบจึงควรทราบวิธีการกำหนดขนาดมิติที่เป็นมาตรฐานสากลและใช้สัญลักษณ์ต่างๆในการกำหนดขนาดมิติได้อย่างถูกต้อง

บทที่ 5 การเขียนภาพสามมิติ

ภาพสามมิติเป็นภาพที่แสดงสัดส่วนของชิ้นงานในลักษณะที่คล้ายกับรูปทรงจริงของชิ้นงาน  ซึ่งสามารถแสดงมิติได้ทั้ง 3 มิติในภาพเพียงภาพเดียว  ทำให้ผู้อ่านแบบเข้าใจแบบได้ง่าย  แต่ไม่สามารถนำไปใช้เป็นแบบทำงานได้  เนื่องจากไม่สามารถกำหนดรายละเอียดต่างๆลงในภาพสามมิติได้ครบถ้วนโดยส่วนมากจะใช้ร่วมกับภาพฉายเพื่อให้อ่านแบบได้ง่ายขึ้น

บทที่ 6 การเขียนภาพฉาย

ภาพฉายเป็นภาพที่มีจุดมุ่งหมายในการแสดงภาพชิ้นงานแบบ 2 มิติ  ซึ่งเป็นภาพที่ใช้สำหรับการเขียนแบบสั่งงานการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเนื่องจากเป็นภาพที่สามารถเขียนได้ตั้งแต่ภาพด้านเดียวจนถึงภาพ 6 ด้าน  ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของชิ้นงานนั้นๆรวมทั้งยังเป็นภาพที่สามารถกำหนดขนาดของมิติและรายละเอียดของชิ้นงานได้ครบถ้วนที่สุด

บทที่ 7 การเขียนภาพตัด

ในงานเขียนแบบชิ้นงานที่มีความซับซ้อนมาก  ซึ่งยากต่อการอ่านแบบและเขียนแบบดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการอ่านแบบเขียนแบบและสามารถแสดงรายละเอียดของแบบงานได้สมบูรณ์มากขึ้น  จึงนิยมนำวิธีการผ่าชิ้นงานเพื่อแสดงรูปร่างทั้งภายในและภายนอกของชิ้นงานซึ่งการผ่าดังกล่าวไม่ใช่เป็นการผ่านชิ้นงานจริงๆ  เป็นเพียงการจินตนาการในการมองภาพเท่านั้น  ส่วนภาพที่ได้จากการผ่าอาจจะเขียนไว้ที่ภาพด้านใดด้านหนึ่งของภาพฉายนอกภาพฉายและภาพ 3 มิติก็ได้

บทที่ 8 การสเกตช์ภาพ

การสเก็ตช์ภาพ (Sketching View)  เป็นการเขียนแบบวิธีหนึ่ง  ซึ่งเป็นการเขียนโดยไม่ใช้เครื่องมือเขียนแบบช่วยในการเขียนใช้เพียงมือเปล่าและอุปกรณ์ที่จำเป็นคือ  ดินสอ  ยางลบ  และ  กระดาษ  เท่านั้น  โดยสามารถสเก็ตช์วัตถุและรูปทรงต่างๆ  ได้แก่  การลากเส้นตรง  การสเก็ตช์วงกลม  การสเก็ตช์วงรี  การสเก็ตช์ส่วนโค้ง  การสเก็ตช์ภาพ isometric และการสเก็ตภาพฉาย

  • แบบทดสอบ บทที่ 1-4
  • แบบทดสอบ บทที่ 5-8

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า